SEO On-Page
หรือการปรับแต่งบนเว็บไซต์ เป็นวิธีที่เราสามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง โดยการทำ SEO On-Page จะแบ่งวิธีการทำ และการคิดคะแนนออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1.1 Content หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์
• Quality คุณภาพของเนื้อหา +3 คะแนน
เนื้อหาบนเว็บไซต์อ่านง่าย มีความยาว หรือจำนวนคำมากพอสมควร ไม่เน้นแต่ Keyword
หากเป็นรูปแบบของบทความ ถ้ามี Link อ้างอิงจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพเหมือนกันก็จะช่วยให้คะแนนของเว็บไซต์คุณ ดีขึ้นตามไปด้วย
• Research เนื้อหาเว็บไซต์มี Keyword ที่ตรงกับคำค้นหา +3 คะแนน
Keyword ที่ดี ต้องมีคนใช้ค้นหา หาก Keyword ที่คุณเลือกมาไม่มีคนเสิร์ช การทำ SEO ของคุณก็ไร้ความหมาย
• Words เนื้อหาเว็บไซต์มีประโยคที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา +2 คะแนน
ไม่ใช่เพียงแค่ Keyword แต่ประโยค และเนื้อหาภายในเว็บไซต์ต้องมีความเกี่ยวข้องกับคำค้นหาด้วย
• Fresh เนื้อหาบนเว็บไซต์มีความสดใหม่ +2 คะแนน
เนื้อหาที่ดีควรสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง อาจศึกษาจากหลายๆ เว็บไซต์ แล้วเรียบเรียงประโยคขึ้นมาใหม่ ตามแบบฉบับของเรา ไม่ควรก็อป เพราะ Google รู้!
• Vertical มีภาพประกอบ หรือวิดีโอในเว็บไซต์ +2 คะแนน
นอกจากการใช้ภาพประกอบ และวิดีโอจะได้คะแนนจาก Google แล้ว เรายังสามารถใส่คำอธิบาย พร้อมแทรก Keyword ลงในรูปภาพได้อีกด้วย เป็นเทคนิคในการทำ SEO
• Answers เนื้อหาของคุณมีคำตอบที่คนเสิร์ชต้องการ +2 คะแนน
หากบทความในเว็บไซต์ของคุณ มีคำตอบที่คนเสิร์ชต้องการ มีข้อมูลเชิงลึกที่น่าเชื่อถือ คำอธิบายชัดเจน มีการใช้เทคนิค SEO ที่หลากหลายในบทความนั้น ยกตัวอย่างเช่น
• จำนวนคำในบทความมีไม่ต่ำกว่า 500 คำ
• มีการตั้งค่า Rich Snippet
• มีการตั้งค่า Title & Description
• มีการตั้งค่า Headline
• มีการตั้งค่า Alt tags ที่รูปภาพ
• มีการทำ Internal Link
ก็จะทำให้เว็บไซต์ของคุณ ได้คะแนนนี้ไป
ข้อดี! การสร้างบทความแบบนี้มีโอกาสที่ Google จะนำไปแสดงอยู่ใน Position Zero ตำแหน่งที่สูงกว่าอันดับ 1 ด้วย ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้คนเห็นเว็บไซต์ของคุณมากยิ่งขึ้น
• Thin เนื้อหาในเว็บไซต์น้อยเกินไป -2 คะแนน
Google นั้นให้ความสำคัญกับคุณภาพเนื้อหาบนเว็บไซต์มากที่สุด จนมีคำกล่าวว่า Content is king หากเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคนมีน้อย หรือบางมากๆ คุณก็อาจโดนหักคะแนนในส่วนนี้ไป
1.2 Architecture หรือโครงสร้างเว็บไซต์
• Crawl โครงสร้างเว็บไซต์ออกแบบให้ง่ายต่อการค้นหา +3 คะแนน
การจัดหมวดหมู่ เมนู บนเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบ จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ภายในเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
• Mobile ใช้งานได้ดีบนโทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน +3 คะแนน
Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานของผู้ชมเว็บไซต์ ไม่ว่าคนจะเปิดดูเว็บไซต์ของคุณจากอุปกรณ์ไหน ต้องสะดวก และง่ายต่อการเข้าชม หากเว็บไซต์ที่คุณใช้เป็น Responsive ก็รับคะแนนข้อนี้ไปได้เลย
• Duplicate ในเว็บไซต์ไม่มีเนื้อหาที่ซ้ำกัน +2 คะแนน
การทำเนื้อหาในเว็บไซต์ที่ดี ในแต่ละหน้าเพจไม่ควรมีเนื้อหาที่เหมือนกัน แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ข้อมูลชุดเดียวกันจริงๆ เราสามารถใช้วิธีการปรับแต่งคำให้ดูแตกต่างกัน ก็สามารถช่วยได้
• Speed ความเร็วในการโหลดเข้าเว็บไซต์ +2 คะแนน
ส่วนตัวแล้วผมให้ความสำคัญกับข้อนี้ค่อนข้างมาก เพราะมันเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนตัดสินใจว่าจะอยู่ในเว็บไซต์ต่อ หรือออกจากเว็บไป
เว็บไซต์ที่โหลดรวดเร็ว จะทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดี แต่ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีความเร็วในการดาวน์โหลดช้ามากๆ รอนานกว่ารูปภาพจะขึ้น สร้างความหงุดหงิดเวลาเข้าชม เป็นผมก็กดออกทันทีเหมือนกัน
• URLs มี Keyword ที่ตรงกับหัวข้อ และเนื้อหาเว็บไซต์ +1 คะแนน
หากเราตั้ง URL ให้มี Keyword สำหรับทำ SEO เข้าไปด้วย ก็จะช่วยให้การทำ SEO ของเราง่ายขึ้น
แต่การตั้ง URL ที่ใส่ Keyword เป็นภาษาไทย จะทำให้ลิงก์ URL ของเรานั้นยาวมากๆ การ Copy เพื่อส่งให้คนอื่น บางครั้งอาจโดนตัด URL ช่วงท้ายๆ ออกไป การแปะลิงก์ หรือการโพสต์บนสื่ออื่นๆ ก็อาจทำให้ดูไม่สวยงาม
ในส่วนนี้ผมอยากให้พิจารณาตามความเหมาะส้มว่าเน้นการทำ SEO หรือเน้นความสวยงามมากกว่ากัน
• เว็บไซต์ใช้ HTTPS หรือ ระบบรักษาความปลอดภัย SSL +1 คะแนน
อีกสิ่งหนึ่งที่ Google ให้ความสำคัญคือ ความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และเจ้าของเว็บไซต์ HTTPS หรือ ระบบ SSL คือ ระบบป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากคนที่ไม่หวังดีกับเว็บ หรือ Hacker หากเว็บไซต์ของคุณเป็น E-Commerce มีการชำระเงินบนเว็บไซต์ SSL คือสิ่งที่คุณขาดไม่ได้เลย
• Cloaking การซ่อน Keyword ในเว็บไซต์ -3 คะแนน
มีหลายครั้งที่คนทำเว็บไซต์พยายามจะใส่ Keyword เข้าไปเยอะๆ เพื่อหวังว่าจะให้เว็บไซต์ติดอันดับ Google เร็วขึ้น
การซ่อน Keyword หมายถึงการพิมพ์ Keyword เข้าไปในเว็บไซต์จำนวนมากๆ แต่! ซ่อนเอาไว้ด้วยการใช้สีตัวหนังสือที่กลืนไปกับพื้นหลัง ทำให้บางครั้งเราไม่เห็นว่า เว็บนั้นได้ซ่อน Keyword เอาไว้
1.3 HTML หรือการเขียนโค้ดหลังบ้าน
• ใส่ Title Tag +3 คะแนน
เป็นการตั้งหัวข้อสำหรับหน้าเพจ ทำให้ Google รู้ว่า หัวข้อของหน้าเพจนี้คืออะไร มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร
การเขียน Title ควรใส่ Keyword ประกอบไปด้วย แต่ไม่ควรใส่มากจนเกินไป เขียนให้ดูน่าสนใจดึงดูดคนให้คลิก เพราะ Title จะถูกนำไปแสดงอยู่บนหน้า Google Search
• ใส่ Meta Description +2 คะแนน
มีไว้สำหรับใส่คำอธิบายรายละเอียดในหน้าเพจนั้นๆ เพื่อให้คนเสิร์ชรู้ว่า เว็บไซต์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยข้อความที่แสดงอยู่ใน Description จะไม่แสดงในเว็บไซต์ แต่จะแสดงในหน้าเสิร์ชเช่นเดียวกับ Titile
Description ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราสามารถใส่ Keyword ลงไปได้ การใช้ควรใส่ที่ช่วงต้น หรือกลาง Description และไม่ควรใส่มากจนเกินไป เมื่อมีคนใช้ Keyword ที่ตรงกับเรา keyword ใน Description ก็จะขึ้นเป็นสีแดง
• Site Structure หรือ Site map +2 คะแนน
คือแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่บอกกับ Google ว่า หน้าไหนคือหน้าที่มีความสำคัญ อยู่ส่วนไหนในเว็บไซต์
• Header การกำหนดหัวข้อ +1 คะแนน
ปกติแล้วเมื่อเราเขียนบทความ เราก็มักจะตั้งหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อยอื่นๆ ตามความสำคัญ สำหรับการทำ SEO หากเราใส่ Tag เพื่อบอกกับ Google ไว้ด้วยว่า อันไหนคือหัวข้อหลัก รอง หรือย่อย ก็จะช่วยให้คะแนนอันดับเว็บไซต์ดีขึ้นด้วย
Tag จะถูกแบ่งตามความสำคัญมีตั้งแต่ h1 = หัวข้อหลัก, h2 = หัวข้อรอง, h3 = หัวข้อย่อย ไปจนถึง h6 แล้วแต่เราจะแบ่ง แต่สำคัญที่สุด h1 ควรมีเพียง หัวข้อเดียวเท่านั้น
การตั้งชื่อหัวข้อแต่ละส่วน หากใส่ Keyword เข้าไปด้วย ก็จะช่วยให้คะแนนการทำ SEO ของคุณดีขึ้น
• Stuffing หรือการใส่ Keyword แบบไม่มีเหตุผล -2 คะแนน
Stuffing คือการนำ Keyword ไปแปะในทุกๆ หน้าบนเว็บไซต์แบบไม่มีความหมายอะไร ไม่มีเนื้อหา ไม่มีประโยค มีแต่ลิส Keyword ล้วนๆ แบบนี้
เรียนกราฟฟิก, สอนกราฟฟิก, รับสอนกราฟฟิก, คอร์สเรียนกราฟฟิก, เรียนกราฟฟิก ราคา, โรงเรียนสอนกราฟฟิก, โรงเรียนสอนกราฟฟิกพญาไท, เรียนกราฟฟิกที่บ้าน, รับสอนกราฟฟิกที่บ้าน, เรียน Graphic Design, รับสอน Graphic Design รับทำ SEO